วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

CISCO IOS

การใช้คำสั่งเพื่อเชื่อมต่อ Router

ซึ่งจะใช้ในการติดต่อ หรือพูดคุยกับ Router เพื่อสั่งงานให้ Router ทำงานได้อย่างที่ต้องการ

จาก ไมโครคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 202 ได้กล่าวถึง วิธีการใช้พอร์ตต่างๆ ของ Router รวมทั้งวิธีการเข้าสู่ภายในของ Router เพื่อการใช้คำสั่งต่างๆ แล้ว ฉบับนี้จะได้กล่าวถึงวิธีการใช้คำสั่งและการจัดตั้ง Configuration เพื่อการเชื่อมต่อ Router ต่อไป

คำสั่งภายใน Router

Cisco Router มีระบบปฏิบัติการที่ควบคุมการทำงานของ Router คล้ายกับระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องพีซีทั่วไป โดยระบบปฏิบัติการของ Router เราเรียกว่า Cisco IOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่จะทำให้ท่านสามารถ จัดตั้งค่า Configuration รวมทั้งการบริหารจัดการ Router รวมทั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อกับ Router ของ Cisco ได้โดยสะดวก ซึ่งในระบบปฏิบัติการ IOS ของ Cisco นี้ มีคำสั่งที่ทำงานในโหมดต่างๆ หลายโหมดดังต่อไปนี้

Command Mode

Command Mode หลักภายใน Cisco IOS ได้แก่

  • User Exec Mode

  • Privileged Exec Mode

  • Global Configuration Mode

  • Interface Configuration

  • Boot Mode

User Exec Mode

User Exec Mode เป็นโหมดแรกที่ท่านจะต้อง Enter เข้าไป เมื่อRouter เริ่มทำงาน วิธีที่จะรู้ว่าท่านได้เข้าสู่ User Exec Mode จาก Prompt ของ Router ได้แก่ Prompt ที่แสดงบนหน้าจอ ได้แก่ ชื่อของ Router แล้วตามด้วยเครื่องหมาย > เช่น

Routerhostname >

ต่อไปนี้ เป็นตารางแสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commands

ตารางที่ 1แสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commands

คำสั่ง

access-enable

เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว

clear

เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว

connect

ใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal

disable

ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode

disconnect

ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ network

enable

เข้าสู่ privileged Exec mode

exit

ออกจากการใช้ User Exec mode

help

ใช้เพื่อแสดงรายการ help

lat

เปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)

lock

ใช้เพื่อ lock terminal

login

loginเข้ามาเป็น user

logout

exit ออกจาก EXEC

mrinfo

ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่ง

mstat

แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้ว

mtrace

ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง

name-connection

เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่

pad

เปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PAD

Ping

ใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ

ppp

ใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPP

resume

ใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้ง

rlogin

เปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกล

show

แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบัน

slip

เริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)

systat

เป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบ

telnet

เป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnet

terminal

เป็นการจัด Parameter ของ Terminal Line

traceroute

เป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทาง

tunnel

เปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnel

where

แสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน

Privileged Exec Mode

เป็น โหมดที่ทำให้ท่านสามารถเปลี่ยนแปลง ค่า Configuration ในตัว Router เมื่อใดที่ท่านเข้าสู่โหมดนี้ไปแล้ว ท่านจะสามารถเข้าสู่การทำงานของโหมดอื่น เพื่อการเปลี่ยนค่า Configuration รวมทั้งขอบข่ายการทำงานของ Router ได้โดยง่าย

วิธี การเข้าสู่ Privileged Exec Mode ได้แก่การใช้คำสั่ง enable ขณะที่ท่านยังอยู่ใน User Exec Mode แต่ส่วนใหญ่เมื่อท่านกำลังจะเข้าสู่ Privileged Exec Mode ท่านมักจะได้รับการร้องขอให้ใส่รหัสผ่าน หากท่านสามารถใส่รหัสผ่านได้ถูกต้อง ท่านจะได้เห็น Prompt ใหม่เกิดขึ้น นั่นแสดงว่า ท่านสามารถเข้าสู่โหมดนี้ได้แล้ว ท่านจะได้เห็นชื่อของ Router รวมทั้งเครื่องหมายของ Prompt ที่เป็นรูป # เช่น

myrouter#

Privileged Mode จะทำให้ท่านสามารถ Access เข้าไปที่โหมดต่างๆ ของ Router ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชุดของระบบปฏิบัติการที่ท่านใช้อยู่ ต่อไปนี้เป็นคำสั่งที่ท่านจะได้พบ หรือสามารถนำมาใช้งานได้บน Privileged Mode นี้

ตารางที่ 2 คำสั่งที่อยู่ใน Privileged Mode

คำสั่ง

Access-enable

เป็นการสร้าง Access List แบบชั่วคราว

Access-template

สร้าง Access List แบบชั่วคราว

Clear

เป็นคำสั่งที่ใช้เคลียร์ หน้าที่การทำงานต่างๆออกทั้งหมด

Clock

จัดการระบบนาฬิกาของระบบ

Configure

เข้าสู่ Configure Mode

Connect

เปิดการเชื่อมต่อ Terminal

Copy

เป็นการคัดสำเนาค่า Configuration และข้อมูล

Debug

เป็นการใช้คำสั่ง debug

Disable

เป็นการยกเลิก Privileged Mode

Disconnect

ใช้เพื่อการ Disconnect การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

Enable

ใช้เพื่อเปิดการเข้าสู่ privileged mode

Erase

ใช้เพื่อการลบข้อมูลใน Flash หรือหน่วยความจำที่เก็บ Configuration ใน Router

Exit

ใช้เพื่อออกจาก EXEC mode

Help

คำสั่ง help

Login

ใช้เพื่อการ log on เข้าสู่ระบบ

Logout

ใช้เพื่อการออกจาก EXEC

Mrinfo

ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารจาก Multicast Router

Mstat

แสดงสถิติหลังจากที่ได้ติดตามดูเส้นทางของ Router ต่างๆ

Mtrace

ใช้เพื่อติดตามดู เส้นทางแบบย้อนกลับ จากปลายทางมายังต้นทาง

Name-connection

ใช้เพื่อการตั้งชื่อ ให้กับเครือข่ายที่กำลังเชื่อมต่ออยู่

Ncia

ใช้เพื่อการ Start และหยุดการทำงานของ NCIA Server

No

ใช้เพื่อ disable function การทำงานของคำสั่ง debugging

Pad

ใช้เพื่อเปิด X.29 PAD Connection

Ping

ใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อด้วย Echo Message

ppp

ใช้เพื่อ Start การทำงานของ PPP

reload

ใช้เพื่อหยุดและ restart แบบ Cold Start (Reset ตัวเองแล้วเริ่มทำงานใหม่)

resume

Resume การเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่กำลัง Active อยู่

rlogin

ใช้เพื่อเปิดการเชื่อมต่อ ด้วย rlogin

rsh

ใช้เพื่อ execute คำสั่งแบบ Remote (การใช้คำสั่งทำงานบน Host อื่นแบบ Remote)

sdlc

ใช้เพื่อการส่ง SDLC Test Frame

send

ใช้เพื่อส่ง Message ไปที่ tty Line อื่นๆ

setup

ใช้เพื่อ Run คำสั่งการ Setup

show

ใช้เพื่อแสดงข้อมูลข่าวสาร ที่กำลังทำงานอยู่บน Router

slip

ใช้เพื่อ Start การทำงานของ Serial Line IP (SLIP)

start-chat

ใช้เพื่อ start chat สคริปบนสาย

systat

ใช้เพื่อแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line

telnet

ใช้เพื่อเริ่มการทำงานของ Telnet

terminal

ใช้เพื่อจัดตั้ง Parameter ของ Terminal Line

test

มีไว้เพื่อการทดสอบ ระบบภายใน รวมทั้งหน่วยความจำและ Interface

traceroute

เป็นการใช้คำสั่ง Traceroute กับอุปกรณ์หรือ Host ปลายทาง

tunnel

เป็นการเปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnel

undebug

ใช้เพื่อยกเลิก การใช้ Debug

verify

ใช้เพื่อ Verify ความถูกต้องของ File ที่อยู่ใน Flash Memory

where

ใช้แสดงรายการ Connection ที่ยัง Active อยู่ในปัจจุบัน

which-route

ใช้เพื่อค้นหาดู route table และแสดงผลออกมาให้ดู

write

ใช้เพื่อ Save ค่า Configuration ไปที่ Memory เครือข่าย หรือ Terminal

x3

ใช้เพื่อจัดตั้ง X.3 Parameter บน PAD

xremote

เข้าสู่ Xremote mode

Global Configuration Mode

ตารางที่3 คำสั่งที่อยู่ใน Global Configuration Mode

คำสั่ง

aaa

Authentication Authorization และ Accounting

access-list

ใช้เพื่อเพิ่มเติมค่าใน Access list

alias

ใช้เพื่อสร้าง Command Alias (ใช้เพื่อสร้างคำสั่งใหม่จากคำสั่งเดิมที่มีอยู่)

apollo

คำสั่ง Apollo Global configuration Command

appletalk

คำสั่ง Global Configuration สำหรับ เครื่อง Appletalk

arap

Appletalk Remote Access Protocol

arp

เป็นการตั้งค่า arp ในตาราง arp

async-bootp

ใช้เพื่อ modify Parameter การทำงานของ Bootp

autonomous-system

ใช้เพื่อกำหนดเจาะจงเลขหมาย AS ว่าขึ้นอยู่กับใคร

banner

ใช้เพื่อนิยามการทำงานของ login banner

boot

ใช้เพื่อ Modify Boot Parameter

buffers

ใช้เพื่อการปรับแต่ง Parameter (ขนาด) ของ System Buffer

busy-message

ใช้เพื่อแสดงข้อมูลข่าวสารต่างๆเมื่อการเชื่อมต่อกับ Host ล้มเหลว

cdp

เป็นคำสั่งย่อย สำหรับการจัดตั้ง Global CDP Configuration

chat-script

ใช้เพื่อกำหนดลักษณะการทำงานของ Modem Chat Scripts

clns

เป็นคำสั่งย่อยสำหรับจัด Configured ให้กับ Global CLNS

clock

ใช้เพื่อจัด Configure เกี่ยวกับ เวลา วัน เดือน ปี

config-register

ใช้เพื่อจัดตั้ง Configuration Register

default

กำหนดให้ Command line มีค่าเป็น Default

default-value

ใช้เพื่อกำหนดให้ ค่า ของ Character Bit

dialer-list

ใช้เพื่อการสร้าง dialer list entry

enable

ใช้เพื่อ Modify enable password parameter

end

ออกจาก Configure Mode

exit

เป็นการออกจาก Configure Mode

help

แสดง Help Menu

hostname

จัดตั้งชื่อ network ให้กับระบบ

interface

ใช้เพื่อเลือก Interface ที่ต้องการจะจัด Configure

ip

เป็นคำสั่งย่อยสำหรับการจัด Configure Global IP

ipx

เป็นคำสั่งสำหรับการจัด Configure ให้กับ Global ipx

kerberos

ใช้เพื่อการจัด Configure ให้ระบบรักษาความปลอดภัย แบบ Kerberos

key

key Management

keymap

ใช้เพื่อการตั้งค่า Keymap ใหม่

line

ใช้เพื่อการจัดตั้ง configure สำหรับ Terminal Line

login-string

ใช้เพื่อนิยาม login string อย่างเจาะจงเฉพาะ host

map-class

ใช้เพื่อการจัด Configure static map class

map-list

ใช้เพื่อการจัด configure static map list

menu

ใช้เพื่อการจัดตั้ง User Interface Menu

modemcap

ฐานข้อมูลสำหรับเก็บค่าที่แสดงความสามารถของ Modem

multilink

การจัด Configuration ให้กับ PPP Multilink

netbios

การควบคุมการ access โดย NETBIOS

partition

ใช้เพื่อแบ่ง partition ของอุปกรณ์

priority-list

ใช้เพื่อการสร้าง priority list

prompt

ใช้เพื่อการตั้ง Prompt ให้กับระบบ

queue-list

ใช้เพื่อการสร้างรายการ queue แบบ manual

rlogin

เป็นคำสั่งที่ใช้ login เข้าไปที่ host ระยะไกล

rmon

เรียกการทำงาน ของ remote monitoring ออกมาใช้งาน

router

ใช้เพื่อ ทำให้กระบวนการ routing เริ่มทำงาน

คำ สั่งในโหมดการทำงานต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากเนื้อที่กระดาษจำกัด จึงขอกล่าวถึงเพียงเท่านี้ก่อน

การใช้ Key ต่างๆ ใน Cisco IOS

คำสั่งเลื่อน Cursor ถอยหลังกลับ

  • Ctrl-B เลื่อน Cursor ถอยหลังกลับมา 1 ตัวอักษร

  • Esc-B ถอย Cursor มา 1 Word

  • Ctrl-A เลื่อน Cursor ไปยังจุดเริ่มต้นของบรรทัด

คำสั่งเลื่อน Cursor ไปข้างหน้า

  • Ctrl-F เลื่อน Cursor ไปข้างหน้า 1 ตัวอักษร

  • Esc-F เลื่อน Cursor ไปข้างหน้า 1 Word

  • Ctrl-E เลื่อน Cursor ไปที่ปลายสุดของบรรทัด

คำสั่งลบตัวอักษร

  • Delete ลบตัวอักษรที่เพิ่งจะใส่เข้าไป

  • Ctrl-D ลบตัวอักษรที่อยู่กับ Cursor

  • Ctrl-K ลบตัวอักษรทั้งหมดจากตำแหน่งของ Cursor ไปที่ปลายสุดของบรรทัด

คำสั่งที่ใช้เรียกคำสั่งที่ใช้ไปแล้วออกมา

  • Ctrl-P เรียกคำสั่งที่ใช้มาแล้วออกมาดู

  • Ctrl-N ใช้ร่วมกับ Ctrl-P เป็นลำดับเพื่อเรียกคำสั่งย้อนหลังออกมาดูทุกตัว

การใช้คำสั่งเพื่อตรวจสอบสถานะของ Router

ต่อ ไปนี้ เป็นคำสั่งที่ท่านสามารถนำมาใช้เพื่อการตรวจสอบสถานะการทำงานของ Cisco Router โดยที่คำสั่งเหล่านี้ ยังช่วยให้ท่านสามารถเฝ้าดู และตรวจสอบหาจุดเสียที่เกิดขึ้นกับ Router ดังกล่าวได้อีกด้วย

คำสั่งที่ใช้เพื่อแสดงสถานะของ Router มีดังนี้

คำสั่ง

show Version

เป็น คำสั่งที่ใช้แสดงการจัด Configuration ของระบบ Hardware เช่น Version ของ Software ที่ใช้ใน Router ชื่อของ Configuration File อันเป็นต้นฉบับ รวมทั้ง Boot Images

show Processes

ใช้เพื่อแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ โปรเซสที่กำลังเกิดขึ้น และยังดำเนินการอยู่ทั้งหมดภายใน Router

show Protocols

ใช้ แสดง Protocol ใน Router ที่ได้รับการจัด Configured เรียบร้อยแล้วโดยคำสั่งนี้ จะทำการแสดง Protocol ที่ทำงานในระดับชั้น Layer 3(Network Layer) ของ OSI Model

show Memory

ใช้เพื่อการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหน่วยความจำในตัว Router รวมทั้งปริมาณของหน่วยความจำที่เหลือจากการใช้งาน

show ip route

ใช้เพื่อการแสดงข้อมูลข่าวสารที่อยู่ใน ตารางเลือกเส้นทาง (Routing Table)

show flash

แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ อุปกรณ์ประเภท Flash Memory

show running-config

ใช้เพื่อการแสดงค่าพารามิเตอร์ของ Configuration ต่างๆที่กำลังทำงานกันอยู่ในขณะนี้

show startup-config

ใช้เพื่อการแสดง File ที่ใช้ backup ค่า Configuration ต่างๆ

show interfaces

ใช้เพื่อการแสดงสถิติของ Interface ทั้งหมดที่ได้จัดตั้ง Configured เรียบร้อยแล้วบน Router

คำสั่ง show versions

Router# show version

IOS (tm) 2500 Software (C2500-JS-L), Version 11.2 (6) RELEASE SOFTWARE (fcl)

Copyright (c) 1986-1997 by cisco Systems, inc.

Compiled Tue 06-MAY-97 16:17 by Kuong

Image text base: 0x0303ED8C, data-base: 0x00001000

ROM: System Bootstrap, Version 5.2 (8a), RELEASE SOFTWARE

ROM: 2500-XBOOT Bootstrap Software, Version 10.1 (1), RELEASE SOFTWARE (fcl)

Router uptime is 1 week, 3 days, 32 minutes

System start by reload

System image file is "c2500-js-1", booted via tffp from 171.69.1.129

----- more -----

คำอธิบายเพิ่มเติม

ข้อมูล ข่าวสารจาก show version มีความสำคัญมาก หากท่านได้มีการ Upgrade Software บน Router ของท่าน หรือในกรณีที่ท่านต้องการจะค้นหาจุดเสีย

สังเกตว่า คำ สั่งนี้มิเพียงแต่แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version ของ Software ที่ท่านกำลังใช้งานใน Router เท่านั้น แต่ยังแสดงสถิติถึงระยะเวลาที่ท่านได้เปิด router ตัวนี้ ใช้งาน รวมทั้งชื่อของ image File

คำสั่ง show startup-config

Router# show startup-config
Using 1108 out of 130048 bytes
!
version 11.2
!
hostname router
------ more -----

คำ สั่ง show startup-config เป็นคำสั่งที่ทำให้ผู้บริหารเครือข่าย สามารถมองเห็น ขนาดของ image และคำสั่ง Startup configuration ที่จะถูกนำมาใช้ในครั้งต่อไปที่มีการ Start ตัว router

คำสั่ง show interfaces

คำ สั่ง show interfaces เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงค่าพารามิเตอร์ที่ได้ถูกจัดตั้งไว้แล้ว รวมทั้งสถิติการทำงานของ อินเทอร์เฟส แบบเวลาจริงที่เกิดขึ้นบน router ในขณะนั้น คำสั่งนี้มีประโยชน์มาก ในการใช้เพื่อติดตามดูอินเทอร์เฟส ชนิดเจาะจง หรือเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หลังจากที่ได้เปลี่ยนแปลง Configuration ของ อินเทอร์เฟสไปแล้ว ข้อมูลอันเป็นสถิติที่ท่านจะได้จาก router หลังจากที่เรียกคำสั่งนี้ มีดังนี้

  • สถานะของ Interface

  • ค่า maximum transmission unit ของอินเทอร์เฟส (ค่า Maximum Transmission Unit หรือ MTU เป็นค่าที่กำหนดขนาดของเฟรมหรือ แพ็กเก็ตที่ Router จะอนุญาติให้วิ่งผ่านได้โดยไม่ต้องมีการทำแฟลกเมนต์ หรือแบ่งขนาดของแพ็กเก็ตออกเป็นส่วนๆ)

  • ค่าไอพีแอดเดรสของอินเทอร์เฟส

  • แสดง MAC Address ของ LAN Card

  • ชนิดของ Encapsulation ที่ใช้

  • จำนวนของแพ็กเก็ตที่ได้รับมาทั้งหมด

  • จำนวนของแพ็กเก็ตที่เกิดความผิดพลาด ขณะที่วิ่งเข้าวิ่งออกจาก Router

  • จำนวนของ Collision ที่ถูกตรวจพบ (หากอินเทอร์เฟสที่ใช้เป็นระบบอีเทอร์เน็ต)

  • คำ สั่ง Show interface เป็นคำสั่งที่มีประโยชน์มาก ในการพิสูจน์ดูการทำงานของ Router อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาด จากการทำงานของ Router และเครือข่าย ต่อไปนี้เป็นหน้าจอที่แสดงข่าวสาร หลังจากใช้คำสั่ง show interface

Router#show interfaces
Serial0 is up, line protocol is up

Hardware is MK5025
Internet address is 183.8.64.129, subnet mask is 255.255.255.128
MTU 1500 bytes, BW 56 kbit, DLY 20000 usec, rely 255/255, load 9/255
Encapsulation HDLC, loopback not set, keepalive set (10 sec)
Last input 0:00:00, output 0:00:01, output hang never
Last clearing of "show interface" counters never
Output queue 0/40, 0 drops:input queue 0/75, 0 drops
Five minute input rate 1000 bits/sec, 0 packets/sec
Five minute output rate 2000 bits/sec, 0 no buffer

331885 packets input, 62400237 bytes, 0 no buffer
Received 230457 broadcasts, 0 runts, 0 giants
3 input errors, 3 CRC, 0 frame, 0 overrun, 0 ignored, 0 abort
403591 packets output, 66717279 byres, 0 underruns
0 output errors, 0 collisions, 8 interface resets, 0 restarts
45 carrier transitions

ที่ กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างของการใช้คำสั่งที่สำคัญสำหรับ Router Cisco ซึ่งท่านที่จะดูแลระบบเครือข่ายอาจต้องพิจารณาศึกษาการใช้คำสั่งต่างๆ เพื่อประโยชน์การใช้งาน Router สูงสุด